บทที่ 4 ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญา (Cognitive Theories)
![]() |
ในตัวละครทุกคนล้วนมี Joy, Sadness, Anger, Fear, และ Disgust คอยควบคุมสั่งการอารมณ์ความรู้สึกของเราอยู่ในหัว สำหรับ Riley Anderson สาวน้อยวัย 11 ขวบนั้นก็มี Joy, Sadness,
Anger, Fear, และ Disgust ทั้ง 5 ตัวอยู่ในหัวเช่นเดียวกับคนอื่นๆ โดยมี Joy เป็นหัวหน้าทีม Riley จึงเป็นสาวน้อยโลกสวยที่เต็มไปด้วยความสุขและความสดใสร่าเริงตามประสาเด็ก
จนกระทั่งวันหนึ่ง จู่ๆ Joy กับ Sadness ก็บังเอิญถูกดูดและ eject
ตัวเองเด้งออกจาก Headquarters ทิ้งให้ Anger, Fear, และ Disgust คอยจัดการอารมณ์ความรู้สึกของ Riley ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ Riley ต้องปรับตัวกับชีวิตใหม่ บ้านใหม่ โรงเรียน และเพื่อนใหม่พอดี หลังจากที่ครอบครัวของเธอต้องย้ายบ้านจาก Minnesota มาอยู่ San Francisco
Inside
Out
เป็นเรื่องราวของ ไรลีย์ เด็กหญิงวัย 11 ปี ที่เติบโตขึ้นมาในชีวิตแบบตะวันตกตอนกลาง
และจำต้องย้ายบ้านตามพ่อแม่มายังเมืองซาน ฟรานซิสโก
หลังจากพ่อของต้องมาเริ่มงานที่ใหม่ ณ เมืองที่ไรลีย์ไม่คุ้นเคย
ชีวิตของไรลีย์ต้องเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง
เธอต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่แตกต่างออกไปจากเดิม และต้องเผชิญกับอารมณ์มากมายที่เข้ามาหลังจากการเปลี่ยนแปลงชีวิตครั้งนี้ของเธอ
จนนำมาสู่การแสดงออกทางอารมณ์ต่างๆ ทั้ง 5 ได้แก่ ความสุข (Joy),
ความกลัว(Fear), ความโกรธ (Anger), ความน่ารังเกียจ (Disgust) และความเศร้า (Sadness)
เมื่ออารมณ์ทั้งหมดอาศัยอยู่ในศูนย์บัญชาการใหญ่ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมส่วนกลางภายในจิตใจของ ไรลีย์ที่พวกเขาคอยช่วยแนะนำเธอให้ผ่านชีวิตในแต่ละวันได้
เมื่อไรลีย์และเหล่าอารมณ์ของเธอต้องปรับตัวกับการใช้ชีวิตในซานฟรานซิสโก
ความโกลาหลวุ่นวายก็คืบคลานมายังศูนย์บัญชาการใหญ่ แม้ ความสุข
ซึ่งเป็นอารมณ์หลักและสำคัญที่สุดของไรลีย์พยายามจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น
ทว่าเหล่าอารมณ์ทั้งหลายกลับขัดแย้งกันเองในการใช้ชีวิตท่ามกลางเมือง
ทุกสถานการณ์ที่ตัวอารมณ์เหล่านี้ตอบสนอง
จะก่อให้เกิดเป็นลูกบอลความทรงจำซึ่งจะไหลมาเก็บไว้ที่ “ความทรงจำระยะสั้น”
ซึ่งอยู่ใกล้กับแผงควบคุม อารมณ์ทั้งห้าสามารถหยิบของพวกนี้มาใช้ได้ในทันที
หลังจากนั้นลูกบอลบางส่วนจะถูกส่งไปยังสถานที่เก็บ “ความทรงจำระยะยาว”
ซึ่งเกี่ยวพันกับการสร้างตัวบุคลิกของตัวไรลีย์ขึ้นมา
สิ่งที่ได้จากการดู Inside out
1.ความเปลี่ยนแปลงคือธรรมชาติของชีวิต
ขึ้นชื่อว่าชีวิต
มันก็ย่อมเต็มไปด้วยความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง
2.ความสุขไม่ใช่การเริงร่าอยู่ตลอดเวลา
Joy (ความร่าเริง) คือ
อารมณ์ที่โดดเด่นที่สุดของไรลีย์ในวัยเด็ก แต่แล้วจุดเปลี่ยนสำคัญก็เกิดขึ้น ในวันที่ครอบครัวของเธอต้องย้ายบ้าน
ซึ่งทำให้อารมณ์อื่นๆ เริ่มมีบทบาทในชีวิตของไรลีย์มากขึ้น
3.ความเศร้าสอนให้เราเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ในช่วงแรกของหนัง
ไม่มีใครในทีมรู้เลยว่า หน้าที่จริงๆ ของ Sadness
(ความเศร้า) คืออะไร
4.ความสุขมักจะปนมากับความเศร้าอยู่เสมอ
ความทรงจำหลายๆ
อย่างของคนเรามักจะอยู่ในรูปของความสุขที่ปนมากับความเศร้า หรือที่เรียกกันว่า mixed feeling ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เข้าใจได้ยาก
5.การเก็บกดความเศร้าเอาไว้เป็นเรื่องไม่ดี
แม้ว่า Joy จะมีความตั้งใจดี แต่เธอก็เป็นผู้นำประเภท control
freak ที่พยายามจะควบคุมทุกอย่างให้เป็นไปตามความคิดของตัวเองมากเกินไป
6.ความโกรธคือพลัง
แต่...ต้องระวังมันเอาไว้ให้ดี
คนเราไม่จำเป็นต้องอดทนต่อสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เมื่อใช้อย่างเหมาะสม Anger (ความโกรธ) ก็คือ
‘พลังงานชั้นดี’ ที่ช่วยปลุกเราให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม
และบรรลุเป้าหมายต่างๆ ในชีวิตได้
7. "ความเกลียด" และ
"ความกลัว" ปกป้องเราได้
Disgust (ความเกลียด)
และ Fear (ความกลัว) ทำงานคล้ายๆ กับ ‘ระบบเซ็นเซอร์’ โดย Disgust
นั้นจะช่วยปัองกันไรลีย์จากสิ่งที่ทำให้เธอไม่สบายกายและไม่สบายใจ
ในขณะที่ Fear ก็ช่วยปกป้องเธอจากอันตรายต่างๆ
8.บางครั้งเราก็ต้องปล่อยวาง
"อดีต" ไปบ้าง
ฉากที่เศร้าที่สุดฉากหนึ่งใน Inside Out ก็คือตอนที่ ปิ๊งป่อง
เพื่อนในจินตนาการของไรลีย์ ยอมเสียสละตัวเอง เพื่อช่วย Joy ออกจาก
หลุมขยะความทรงจำ จนทำให้ตัวเองต้องเลือนหายไป
9.ประสบการณ์ใหม่ๆ ช่วยให้เราได้เติบโต
แนวคิดที่น่าสนใจอันหนึ่งซึ่งถูกพูดถึงใน
Inside Out ก็คือ
เกาะบุคลิกภาพ (Islands of Personality) ซึ่งเป็นตัวแทนของบุคลิกภาพด้านต่างๆ
ของไรลีย์ และสร้างตัวตน (Identity) ของเธอขึ้นมา
10."ความรัก"
ช่วยเราได้ในวันที่เรา "อ่อนแอ"
เรื่องราวทั้งหมดใน Inside Out ได้คลี่คลายลงในตอนที่ Joy ตัดสินใจมอบหมายให้ Sadness เป็นผู้ควบคุมแผงคอนโซล
ซึ่งส่งผลให้ไรลีย์ได้ ‘ปลดล็อค’ ความเศร้าของตัวเอง
และได้เปิดใจกับพ่อแม่เป็นครั้งแรก
ว่าเธอรู้สึกเศร้าแค่ไหนกับการย้ายบ้านในครั้งนี้
ความเกี่ยวข้องกับทฤษฎี
1. ทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget) จากหนัง ไรลีย์
เมื่อลืมตาดูโลกขึ้นมาจะเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
ในภายในไรลีย์จะมีระบบจัดเก็บรวบรวมกระบวนการต่างๆอย่างต่อเนื่อง และมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา
ในพัฒนาการเชาวน์ปัญญาเพียเจต์กล่าว่าบุคคลต้องมีการปรับตัวซึ่งประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ 2 อย่าง คือ
การดูดซึมหรือซึมซาบเข้าสู่โครงสร้างทางปัญญา
(Assimilation) และ การปรับโครงสร้างทางสติปัญญา (Accomodation) ระหว่างระยะเวลาตั้งแต่ทารกจนถึงวัยรุ่น
คนเราจะค่อยๆสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นตามลำดับขั้น
2. ทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner) จากหนังไรลีย์จะแสดงพัฒนาการทางสมองด้วยการกระทำ
และดำเนินต่อไปเรื่อยๆตลอดชีวิต เรียกว่าEnactive Mode เป็นวิธีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
โดยการจับต้อง เช่น ผลัก ดึง จับ การเล่นกีฬาของไรลีย์
นอกจากใช้ประสาทสัมผัสแล้วเด็กยังสามารถถ่ายทอดด้วยภาพในใจของเค้า
เมื่อไรลีย์สามารถที่จะสร้างจินตนาการได้
เด็กก็สามารถรับรู้สิ่งต่างในโลกได้ด้วยการใช้ Iconic Mode
3. ทฤษฎีของออซูเบล (Ausubel) จากหนังตอนที่มีตัวการ์ตูนที่เป็นเสมือนคนดูแลความสะอาดในเรื่องของความทรงจำถ้าความทรงจำไหนไม่เป็นประโยชน์ก็จะถูกทิ้งลงในส่วนของ
Memory Dump ก็เปรียบเสมือนคนเราตามทฤษฎีของออซูเบล
ที่กล่าวว่าถ้าสิ่งนั้นไม่สร้างความหมายให้ต่อผู้เรียนสิ่งนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์
4. ทฤษฎีของคลอสไมเออร์(Klausmeier) จากหนังเรื่องความทรงจำตอนแรกก็จะเก็บเป็นความทรงจำระยะสั้น
Memory Orbs (ลูกบอลสีต่างๆ)หลังจากนั้นถ้ามันเป็นสิ่งที่สำคัญต่อเราเราก็จะจำและเป็นความทรงจำระยะยาว
Long Term Memory เหมือนในหนังInside Out ที่มีการเก็บความทรงจำของไรลีย์แทนลูกแก้วที่ใช้เก็บความทรงจำที่และเมื่อเป็นครบวันก็จะเอาไปเก็บเป็นความทรงจำระยะยาว
Long Term Memory เก็บไว้ในชั้นแบบ ไลบรารี่ต่อไป
5.ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ (Information Processing Theory) ไรลีย์ มีการทำงานกระบวนการต่างๆในการประมวลสารสนเทศ เช่น ความใส่ใจ
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรู้จักคิดของตนเอง (Metacognition)