สรุปบทที่3 ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรม
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral
Theories)
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Learning
Theory : Behaviorism)
นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมอธิบายว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า
(S=stimulus)
กับการตอบสนอง (R=response)
ทฤษฎีที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่
1. ทฤษฎีการเรียนรู้วางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
2. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical
Conditioning)
1. แนวคิดของพาฟลอฟ(Ivan
Pavlov) เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากการวางเงื่อนไข
กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือ
สถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวันการตอบสนองเช่นนั้นอาจไม่มี
เช่น กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและน้ำลายไหล
เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข พาฟลอฟ
เรียกว่า สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข และปฏิกิริยาน้ำลายไหล
เป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนองที่มีเงื่อนไข
ขั้นที่ 1
เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย
ผงเนื้อ (UCS)
น้ำลายไหล (UCR)
ขั้นที่ 2
เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR)
และผงเนื้อ (UCS)
ทำขั้นที่ 2
ซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง
ขั้นที่ 3
เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR)
จากหลักการข้างต้นสามารถสรุปหลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟ
ดังนี้
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก =
สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข = การเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
จากเหตุผลที่ว่าครั้งแรกสุนัขไม่มีปฏิกิริยาใดๆต่อเสียงกระดิ่ง
แต่เมื่อเกิดการเรียนรู้ว่าถ้าได้ยินเสียงกระดิ่งจะได้อาหาร
ครั้งต่อๆมาสุนัขจะมีปฏิกิริยาต่อเสียงกระดิ่ง คือ น้ำลายไหล
นั้นคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือ เกิดการเรียนรู้นั้นเอง
2. แนวคิดของจอห์น บี วัตสัน (John B. Watson)
วัตสัน ทำการทดลองโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว ขณะที่เด็กกำลังจะจับหนูขาว
ก็ตีแท่งเหล็กให้เกิดเสียงดัง เด็กจะตกใจร้องไห้
หลังจากนั้นเด็กจะกลัวและร้องไห้เมื่อเห็นหนูขาว
ต่อมาทดลองนำหนูขาวมาให้เด็กดูใหม่ โดยให้แม่กอดและคอยปลอบเด็กไว้จากนั้นเด็กก็จะค่อย
ๆ หายกลัวหนูขาว
วัตสันสรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ ดังนี้
1.พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
และการเรียนรู้จะคงทนถาวร
หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
2.เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้
ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant
Conditioning Theory)
1.ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
(Thorndike)
ในการทดลอง
ธอร์นไดค์ได้นำแมวไปขังไว้ในกรงที่สร้างขึ้น
แล้วนำปลาไปวางล่อไวนอกกรงให้ห่างพอประมาณ โดยให้แมวไม่สามารถยื่นเท้าไปเขี่ยได้
จากการสังเกต พบว่าแมวพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อจะออกไปจากกรง
จนกระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้โดยบังเอิญ ทำให้ประตูเปิดออก
หลังจากนั้นแมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได้เร็วขึ้น
จากการทดลองธอร์นไดค์อธิบายว่า
การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหา เป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก
การที่แมวสามารถเปิดกรงได้เร็วขึ้น ในช่วงหลังแสดงว่า แมวเกิดการเรียนรู้ด้วยการสร้างพันธะหรือตัวเชื่อมขึ้นระหว่างคานไม้กับการกดคานไม้กล่าวคือ
ทฤษฎีของพาฟลอฟให้ความสำคัญกับ สิ่งเร้า ที่จะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง
และเชื่อว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปฏิกิริยาสะท้อนโดยอัตโนมัติของร่างกายที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไขไว้แล้ว
ส่วนทฤษฎีของสกินเนอร์ให้ความสำคัญกับ ผลกรรม ที่ตามมาหลังจากการแสดงพฤติกรรม
รวมทั้งเชื่อว่าพฤติกรรมที่ปรากฏออกมาเกิดจากการกระทำของตัวบุคคลเอง (Active)
มากกว่าที่จะเกิดขึ้นจากการกระตุ้นของสิ่งเร้า (Passive)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
1.กฎแห่งผล
(Law of Effect) สิ่งเร้าที่มีการกระตุ้นให้มีการตอบสนองแล้วทำให้ผู้เรียนได้รับผลที่น่าพึงพอใจจากการกระทำนั้นแล้วจะเป็นผลทำให้กระทำพฤติกรรมนั้นๆ
เหมือนการทดลอง นั่นคือ แมวจะกระทำพฤติกรรมนี้ซ้ำๆเพราะเกิดความพึงพอใจ
2. กฎแห่งความพร้อม
(Law of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีถ้าผู้เรียนมีความพร้อม
3. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อยๆจะทำให้การเรียนรุ้คงทนถาวร
4. กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) การเรียนรู้และนำไปใช้บ่อยๆ
2.แนวคิดเบอร์ฮัส เอฟ สกินเนอร์ (Burrhus
F. Skinner)
ทฤษฎีของพาฟลอฟให้ความสำคัญกับ สิ่งเร้า
ที่จะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง
และเชื่อว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปฏิกิริยาสะท้อนโดยอัตโนมัติของร่างกายที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไขไว้แล้ว
ส่วนทฤษฎีของสกินเนอร์ให้ความสำคัญกับ ผลกรรม ที่ตามมาหลังจากการแสดงพฤติกรรม
รวมทั้งเชื่อว่าพฤติกรรมที่ปรากฏออกมาเกิดจากการกระทำของตัวบุคคลเอง (Active)
มากกว่าที่จะเกิดขึ้นจากการกระตุ้นของสิ่งเร้า (Passive)
วิธีการทดลอง
สกินเนอร์นำหนูที่กำลังหิวใส่เข้าไปในกล่อง(Skinner’s
box) ซึ่งภายในประกอบด้วยกลไกสำหรับการให้อาหาร นั่นก็คือ
ถ้าหนูไปแตะโดนที่คาน ก็จะมีอาหารหล่นลงมา 1 ชิ้น
ซึ่งปรากฏว่าเมื่อหนูเข้าไปในกล่อง มันก็วิ่งวนไปมาทั่วกล่อง
จนกระทั่งมีอยู่ครั้งหนึ่งที่มันบังเอิญวิ่งไปแตะที่คานจึงทำให้มีอาหารหล่นลงมา
หนูจึงได้กินอาหาร
พฤติกรรมเช่นนี้เกิดขึ้นหลายครั้งจนกระทั่งครั้งหลังๆเมื่อหนูหิวและต้องการอาการมันก็ตรงไปกดคานทันที
แสดงว่าหนูได้เกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้ว โดยมีคานเป็นสิ่งเร้า (Stimulus)
และมีอาหารเป็นตัวเสริมแรง (Reinforcer) ที่ทำให้หนูเกิดการเรียนรู้ว่า
ถ้าหากมันกดคาน มันก็จะได้กินอาหารอีก
ซึ่งสกินเนอร์เรียกพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนี้ว่า
“การเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ” (Operant Conditioning)
การเสริมแรง(Reinforcement )
การเสริมแรง(Reinforcement
) หมายถึงสิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก
มีความคงทนถาวร เช่น
การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการในการทดลอง
Skinner ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2
ลักษณะคือ
ตัวเสริมแรงทางบวก
(Positive
Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น
เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร เป็นต้น
ตัวเสริมแรงทางลบ
(Negasitive
Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำออกใช้แล้ว
ทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น เสียงดัง คำตำหนิ อากาศร้อน กลิ่นเหม็น
เป็นตัวเสริมแรงทางลบ
การลงโทษ (Punishment)
การเสริมแรงทางลบและการลงโทษมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและมักจะใช้แทนกันอยู่เสมอ
แต่การอธิบายของสกินเนอร์การเสริมแรงทางลบและการลงโทษต่างกัน
โดยเน้นว่าการลงโทษเป็นการระงับหรือหยุดยั้งพฤติกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น