การวัดด้านพุทธิพิสัยพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) พฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับสติปัญญา
พุทธิพิสัย
พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย หมายถึง
การเรียนรู้ในวิชาต่าง ๆ
ที่ผู้เรียนจะต้องอาศัยความสามารถทางสมองเป็นที่ตั้งของการคิดวิเคราะห์รวมทั้งจดจำเช่น
การเรียนวิชาเลข การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การทำความเข้าใจในการอ่าน
การเขียนเรียงความ การคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ
เป็นต้น พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยหรือพฤติกรรมด้านสมองแยกได้เป็น 6 ประเภท
คือ
1.ความรู้ความจำ (Knowledge)
หมายถึง การที่ผู้เรียนสามารถระลึกข้อความรู้ต่างๆ
ที่ครูสอนหรือข้อความรู้ที่ตนได้ศึกษามาด้วยวิธีการต่างๆ ไว้ได้
ตัวอย่างข้อสอบ
ข้อใดคือความหมายของ ฮาร์ดแวร์ ?
ก. โปรแกรมที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ข. ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
ค. ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน
ง. บุคลากรที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์
2.ความเข้าใจ (Comprehension)
หมายถึง ความสามารถของผู้เรียนที่จะอธิบาย ขยายความหรือเขียนเรื่องราวใด ๆ
ที่ตนได้รับรู้มาโดยการใช้ถ้อยคำ สำนวนภาษาของตนเอง
และหมายความรวมไปถึงความสามารถในการที่แปลความหมาย ตีความหมาย
หรือขยายความหมายข้อมูล จากสำนวนสุภาษิต แผนที่ กราฟ หรือตารางต่างๆ ตัวอย่างของพฤติกรรมความเข้าใจ
ตัวอย่างข้อสอบ
cpu เปรียบเสมือนส่วนใดของร่างกายมนุษย์
ก.
ลำตัว
ข.
ปาก
ค.
สมอง
ง. ขา
3.การนำไปใช้ (Application) ได้แก่
ความสามารถของผู้เรียนในการที่จะนำความรู้ ความเข้าใจที่ตนมีไปใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างไปจากเดิมได้
ตัวอย่างข้อสอบ
ใครช่วยให้คอมพิวเตอร์มีอายุการใช้งานยาวนานยิ่งขึ้น
ก.
บี
ซ่อมคอมพิวเตอร์เองโดยไม่มีความรู้
ข.
เอ
วางคอมพิวเตอร์ใกล้หน้าต่างที่มีแสงแดด
ค.
ฟาง วางคอมพิวเตอร์ห่างจากผนัง 15 ซ.ม.
ง.
จอย วางแจกันดอกไม้บนเครื่องคอมพิวเตอร์
4.การวิเคราะห์ (Analysis)
ได้แก่ ความสามารถของนักเรียนในการที่จะใช้สมองขบคิดหาเหตุผล
หาหลักการหาสาเหตุ หรือความเป็นไปของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น นักเรียนที่ปลูกผัก
สังเกตเห็นว่าผักที่ตนปลูกไว้ไม่งอกงาม
ถ้านักเรียนใช้ความสามารถโดยลำพังของตนเองค้นหาสาเหตุที่ทำให้ผักของตนไม่งาม
ข้อใดควรกระทำเป็นอันดับแรกในการพัฒนาระบบโดยผ่าน
ตัวอย่างข้อสอบ
กระบวนการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
ก. ออกแบบรายงาน
ข.
รวมรวมข้อมูล
ค.
วิเคราะห์ระบบ
ง.
กำหนดวิธีและขั้นตอนการทำงาน
5.การสังเคราะห์ (Synthesis)
ได้แก่
ความสามารถของผู้เรียนในการที่จะใช้สมองคิดสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาโดยอาศัยความสามารถของตนเอง
ตัวอย่างข้อสอบ
ข้อใดกล่าวถึงคอมพิวเตอร์ไม่ถูกต้อง
ก.
สามารถคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาได้
ข.
ความเร็วในการคำนวณเร็วกว่ามนุษย์
ค.
มีความสามารถในการจำสิ่งต่างๆ ได้ดีกว่ามนุษย์
ง.
อุปกรณ์ที่สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก
6.การประเมินค่า (Evaluation)
ได้แก่การที่ผู้เรียนพิจารณาสิ่งใดสิ่งหนึ่งในลักษณะที่เพ่งเล็ง
ว่าสิ่งนั้น ๆ มีคุณค่า
ดี-เลว-ถูก-ไม่ถูก-ควร-ไม่ควร โดยมีเหตุผลประกอบ
การแบ่งพฤติกรรมทางด้านพุทธิพิสัยนั้นบางคนแบ่งเป็น 2 ส่วน
คือ ส่วนความจำและส่วนความคิด
ตัวอย่างข้อสอบ
การปฏิบัติตนข้อใดแสดงถึงการมีคุณธรรมจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
ก.
เขียนข้อความในกระดานสนทนาโดยไม่พาดพิงผู้อื่นในทางเสียหาย
ข.
ส่งจดหมายลูกโซ่ให้เพื่อนทุกคนในห้องเรียน
ค.
ส่งไฟล์ภาพที่มีไวรัสคอมพิวเตอร์ให้เพื่อน
ง.
คัดลอกไฟล์เอกสารจากเว็บเพจมาใช้งาน
(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
2535:4)
สรุปพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
คือ
นี่เป็นการวางลำดับขั้นการเรียนรู้ให้กับนักเรียนก่อนสอน ...
มักจะเป็นการวางไว้ในสิ่งที่เรียกว่า "แผนการสอน"
เมื่อนักเรียนเรียนรู้เรื่องนี้แล้ว
นักเรียนควรจะมีความสามารถทางสติปัญญาถึงขั้นไหนดี แน่นอนว่า
ขั้นที่ครูอยากให้ถึงมากที่สุด คือ การประเมินค่า ... ซึ่งต้องขึ้นอยู่เนื้อหาวิชา
ความรู้นั้น ๆ ว่า ควรจะเป็นขั้นนี้หรือไม่ เนื้อหาบางเนื้อหาอาจจะถึงแค่
ความรู้ความจำ หรือ ความเข้าใจ ก็ยังได้ แล้วแต่ธรรมชาติของเนื้อหาเอง
การนำเสนอเรื่องราวของ
พุทธิพิสัย (Cognitive
Domain) นี้ มีสาเหตุมาจากคำว่า "วิเคราะห์" หรือ
"สังเคราะห์" ... ผู้ที่มิได้ศึกษาทางวิชาชีพครู อาจจะงงว่า เอะ
คำสองคำนี้ต่างกัน หรือ เหมือนกัน อย่างไร ... ดังเช่น เรามักพบในข้อคำถาม
ดังต่อไปนี้
จง วิเคราะห์ บทความต่อไปนี้
..................... แล้วเขียนลงในสมุดคำตอบ
จง สังเคราะห์ บทความต่อไปนี้
.................. แล้วเขียนลงในสมุดคำตอบ
เห็นแล้วก็งง ตกลงว่า
"วิเคราะห์" คืออะไร หรือ "สังเคราะห์" คืออะไร
วิเคราะห์ คือ
การแยกแยะเรื่องราวออกเป็นส่วนย่อย
สังเคราะห์ คือ
การผสมผสานส่วนย่อยเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างระบบ
อีกประการทำให้เราทราบที่มาว่า
คำว่า วิเคราะห์ สังเคราะห์ มาจากทฤษฎีหมวดการเรียนของ บลูม และคณะ นั่นเอง
โดยอยู่ที่ เรื่องของสติปัญญา หรือ พุทธิพิสัย
ดีมากคับ
ตอบลบ